วัสดุจากธรรมชาติที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่าง “อิฐมอญ” หรือที่คนไทยเริ่มรู้จักในชื่อ ”อิฐเผาแดง” เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวมาเผา เพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูป และมีความแข็งแรง โดยมีการใช้อิฐมอญในระบบการก่อสร้างมายาวนาน จึงเป็นวัสดุที่เป็นที่รู้จัก และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความคงทน จัดเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างประเภทโครงสร้างผนังเป็นหลัก ก่อนที่ต่อมาจะมีการนำมาดัดแปลงประยุกต์ใช้งานทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงใช้ในงานตกแต่งสำหรับพื้นที่ภายในของที่พักอาศัย
ความแข็งแรง ทนทาน เป็นคุณสมบัติหลักของ “อิฐมอญ” วัสดุมีความหนาแน่นสูง ทำให้กักเก็บเสียงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอีกหลายอย่างที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน อิฐมอญสามารถป้องกันความร้อนจากแสงแดด และช่วยรักษาอุณหภูมิภายในพื้นที่ให้เย็นสบายตลอดทั้งวัน เพราะตัววัสดุถูกผลิตขึ้นจากธรรมชาติ เมื่อบวกกับนวัตกรรมสารกันเคลือบต่างๆ ยิ่งช่วยให้ตัววัสดุตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างครอบคลุม
ข้อดี ของอิฐมอญ
ทนแดด ทนฝน ได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา สามารถรับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม/ตร.ซม. มีความแข็งแรง และความหนาแน่นสูง สามารถเจาะแขวนของที่ผนังได้ง่าย และหาซื้อได้ง่าย เป็นวัสดุที่ยึดเกาะได้ดี ยังเหมาะกับเป็นอิฐตกแต่งโชว์ เพราะมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย และที่สำคัญผลิตได้เองในประเทศไทย จึงทำให้ช่างผู้รับเหมาทั่วไปมีความชำนาญในการก่ออีกด้วย
ส่วนมากอิฐมอญมักถูกใช้งานภายนอกเป็นส่วนใหญ่ เช่น การสร้างเป็นผนังเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี จึงทำให้ประยุกต์ใช้งานกับพื้นที่ภายในได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใช้สำหรับกั้นห้อง หรือผนังฉากกันบริเวณห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว
“อิฐมอญ” ถือเป็นวัสดุที่อยู่คู่กับคนไทย และสถาปัตยกรรมไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งใช้ได้ในงานก่อสร้างบ้าน รวมไปถึงสถานที่ต่างๆ อีกทั้งตัววัสดุมีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อสภาพอากาศของบ้านเราได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และที่สำคัญช่วยเติมเต็มรูปแบบของงานดีไซน์ได้ทุกประเภทได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อคนที่ไลฟ์สไตล์โดดเด่น และแตกต่างอยู่ร่วมกัน
ทำให้เกิดศิลปะ และ สังคมที่ภาคภูมิใจ
www.plumeliving.com/plume
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 062 963 9699
#PLUME⠀
#PLUMEWatcharaphonEkkamai⠀
#PLUMELiving⠀
#Townhome⠀
#Watcharaphon⠀
#Ekkamai
บทความโดย อริสรา วีระสุวรรณ